การปกครองสมัยอยุธยา

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553


การปกครองแบบจตุสดมภ์
ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ปรับปรุงระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่เป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบอย่างของขอมโดยมีกษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครอง การปกครองประกอบด้วยเสนาบดี 4 คนคือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา พร้อมทั้งได้ตรากฎหมายลักษณะอาญาหลวงและ กฏหมายลักษณะอาญาราษฎร เพื่อเป็นบรรทัดฐานในด้านยุติธรรม การบังคับบัญชา ในส่วนกลางแบ่งออกเป็น
ขุนเมือง ทำหน้าที่บังคับกองตระเวนซ้าย ขวา และขุนแขวง อำเภอ กำนันในกรุงบังคับศาลพิจารณาความฉกรรจ์มหันตโทษ ซึ่งแบ่งเป็นแผนกว่าความนครบาลและคุมไพร่หลวงมหันตโทษ ทำหน้าที่ตะพุ่นหญ้าช้าง
ขุนวัง ทำหน้าที่รักษาพระราชมนเฑียร และพระราชวังชั้นนอกชั้นในเป็นพนักงานจัดการพระราชพิธีทั้งปวงทั่วไป และบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายหน้า บรรดาข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในและข้าราชการฝ่ายในทั่วไปมีอำนาจที่จะตั้งศาลชำระความซึ่งเกี่ยวข้องได้ ราชการในกรมวังนี้มีความละเอียดกว่าราชการในกรมเมืองต้องรู้วิธีปฏิบัติราชการ มีความจดจำดีมีความขยันหมั่นเพียรและ ต้องใช้ความรู้ความสามารถ
ขุนคลัง ทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาในเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งจะเข้าในพระคลังและที่จะจ่ายราชการบังคับจัดการภาษีอากรขนอนตลาดทั้งปวงและบังคับศาลซึ่งชำระความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ของหลวงทั้งปวง
ขุนนาง มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงเก็บค่าเช่าจากราษฎร เป็นพนักงานจัดซื้อข้าวขึ้นฉางหลวง เป็นพนักงานทำนาตัวอย่าง ชักจูงราษฎรให้ลงมือทำนาด้วยตนเองเป็นผู้ทำนุบำรุงชาวนาทั้งปวงไม่ให้เสียเวลาทำนา นอกจากนั้นยังมีอำนาจที่จะตั้งศาลพิพากษาความที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องนาและโคกระบือ
อาณาเขต
กรุงศรีอยุธยา ที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงก่อตั้งในปี พ।ศ।1893 นั้นมีทำเลที่ตั้งที่ดีมาก ทั้งในด้านยุทธศาสตร์และในด้านการค้า กล่าวคือ ตัวเมืองอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่ลุ่มมีแม่น้ำล้อมรอบถึง 3 ด้าน ได้แก่ แม่น้ำลพบุรีทางด้านเหนือ แม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านตะวันตกและด้านใต้ ดังนั้เพียงแต่ขุดลำคูขื่อหน้าทางด้านตะวันออกเชื่อมแม่น้ำเหล่านั้น อยุธยาก็กลายเป็นเมืองเกาะที่มีลำน้ำรอบครบทั้ง 4 ด้าน ลักษณะเช่นนี้นับเป็นปราการธรรมชาติอันมั่นคงช่วยป้องกันการโจมตีของข้าศึกเป็นอย่างดี นอกจากนั้นการตั้งอยู่ในบริเวณที่ลุ่มทำให้ช่วงระยะระหว่าง เดือนกันยายน - ธันวาคมของทุกปี จะมีน้ำหลากท่วมรอบกรุงศรีอยุธยาเป็นบริเวณกว้าง เท่ากับเป็นการบังคับให้ฝ่ายข้าศึกมีโอกาสล้อมโจมตีกรุงศรีอยุธยาได้เพียงปีละ 8 เดือนเท่านั้นและเมื่อล้อมอยู่ถึงหน้าน้ำหลากแล้ว ก็จำต้องยกทัพกลับไปโดยปริยาย
ทำเลที่ตั้งเช่นนี้นอกจากจะให้ผลดีในด้านยุทธศาสตร์แล้วยังทำให้อยุธยา สามารถติดต่อค้าขายกับอาณาจักรที่อยู่ลึกเข้าไป เช่นสุโขทัยได้สะดวกโดยอาศัย แม่นำเจ้าพระยาและสาขา นอกจากนั้นการที่อยุธยาตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำที่ลึกเข้าไป ในผืนแผ่นดินแต่ก็ไม่ไกลจากปากน้ำจนเกินไป จึงทำให้อยุธยาสามารถติดต่อ ค้าขายทางเรือกับต่างประเทศได้อย่างสะดวก รวมทั้งสามารถทำหน้าที่เป็นพ่อค้า คนกลางติดต่อค้าขายระหว่างพ่อค้าจีน ญี่ปุ่น กับพวกพ่อค้าต่างชาติอื่นๆ อยุธยา จึงเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ
นอกจากทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมมาก ทั้งในด้านยุทธศาสตร์และด้านการค้า แล้วมีข้อน่าสังเกตว่าตั้งแต่แรกก่อตั้งอาณาจักร อยุธยามีพื้นฐานที่ดีทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และด้านกำลังทางทหารซึ่งพื้นฐานที่ดีทั้ง 3 ประการนี้มีส่วนอย่างมากในการช่วยเกื้อหนุน ให้อยุธยาสามารถพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองสร้างความเป็นปึกแผ่นได้อย่างรวดเร็ว จนก้าวเป็นศูนย์อำนาจทางการเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งทางตอนบนและตอนล่าง
สภาพเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
การค้ากับต่างประเทศ

ในสมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.1893-1991) การค้ากับต่างประเทศที่มีอยู่เป็นการค้าสำเภากับจีน ญี่ปุ่น อาหรับ มลายู อินเดียชวาและฟิลิปปินส์ แต่อยุธยามีการติดต่อค้าขายกับจีนมากที่สุด การค้าสำเภาส่วนใหญ่ในสมัยนี้เราดำเนินการโดยพระมหากษัตริย์เจ้านายและขุนนางมีการค้าของเอกชนบ้าง การค้ากับต่างประเทศในสมัยอยุธยาตอนต้นจึงเป็นการผูกขาดกลาย ๆ หรือโดยทางอ้อม แต่ระดับของการผูกขาดยังมีไม่มากรูปแบบการค้าเสรียังมีอยู่พ่อค้าต่างชาติยังสามารถติดต่อค้าขายกับราษฎรและพ่อค้าชาติอื่น ๆ ที่อยู่ในอยุธยาได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านองค์กรของรัฐบาลคือพระคลังสินค้า เหมือนดังเช่นในสมัยหลัง กล่าวโดยสรุปการค้ากับต่างประเทศ นับเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาและเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐ กล่าวคือหากรัฐบาลเป็นผู้ประกอบการค้าเองก็จะได้ผลกำไรแต่ถ้าไม่ได้ค้าขายเองก็จะได้ภาษีซึ่งเรียกเก็บจากสินค้าขาเข้าและสินค้าขาออก
รายได้ของรัฐ
สันนิฐานว่าในสมัยอยุธยาตอนต้น รัฐบาลคงมีรายได้ประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
จังกอบ คือ ค่าผ่านด่านขนอน ทางบกทางน้ำ เรียกเก็บจากสินค้าของราษฎรโดยเก็บชักส่วนสินค้าไว้ในอัตรา 1 ชัก 10หรือเก็บเป็นเงินตามอัตราขนาดยานพาหนะที่ขนสินค้าผ่านด่าน
อากร คือ การเก็บชักส่วนผลประโยชน์ที่ราษฎรได้จากการประกอบอาชีพอื่นๆ ที่มิใช่การค้าขายโดยตรง เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ ผู้ที่ทำนาจะเสียหางข้าวให้แก่รัฐและจะต้องนำมาส่งเอง หรือเงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการได้รับสิทธิต่าง ๆ เช่นอนุญาตให้เก็บของป่า จับปลาในน้ำ และต้มกลั่นสุรา เป็นต้น อัตราคงที่ประมาณ 1 ใน 10 ของผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้
ส่วย คือ เครื่องราชบรรณาการที่ได้จากประเทศราช
ฤชา คือ เงินค่าธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎรเฉพาะรายในกิจการที่ทางราชการจัดให้เช่นการออกโฉนดตราสารหรือเงินปรับไหมที่ฝ่ายแพ้คดีจะต้องชดใช้ให้แก่ฝ่ายชนะ รัฐบาลจะเก็บให้ครึ่งหนึ่งเป็นค่าฤชา ซึ่งเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "เงินพินัยหลวง"
รายได้จากการค้ากับต่างประเทศ ได้แก่ ผลกำไร ภาษีสินค้าขาเข้า และภาษีสินค้าขาออก


นางสาวฟาลิดา อาจหาญ ม.4/5 เลขที่ 18
ที่มา : http://www.dopa.go.th/history/ayud.htm

0 ความคิดเห็น:

การปกครองสมัยอยุธยา


การปกครองแบบจตุสดมภ์
ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ปรับปรุงระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่เป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบอย่างของขอมโดยมีกษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครอง การปกครองประกอบด้วยเสนาบดี 4 คนคือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา พร้อมทั้งได้ตรากฎหมายลักษณะอาญาหลวงและ กฏหมายลักษณะอาญาราษฎร เพื่อเป็นบรรทัดฐานในด้านยุติธรรม การบังคับบัญชา ในส่วนกลางแบ่งออกเป็น
ขุนเมือง ทำหน้าที่บังคับกองตระเวนซ้าย ขวา และขุนแขวง อำเภอ กำนันในกรุงบังคับศาลพิจารณาความฉกรรจ์มหันตโทษ ซึ่งแบ่งเป็นแผนกว่าความนครบาลและคุมไพร่หลวงมหันตโทษ ทำหน้าที่ตะพุ่นหญ้าช้าง
ขุนวัง ทำหน้าที่รักษาพระราชมนเฑียร และพระราชวังชั้นนอกชั้นในเป็นพนักงานจัดการพระราชพิธีทั้งปวงทั่วไป และบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายหน้า บรรดาข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในและข้าราชการฝ่ายในทั่วไปมีอำนาจที่จะตั้งศาลชำระความซึ่งเกี่ยวข้องได้ ราชการในกรมวังนี้มีความละเอียดกว่าราชการในกรมเมืองต้องรู้วิธีปฏิบัติราชการ มีความจดจำดีมีความขยันหมั่นเพียรและ ต้องใช้ความรู้ความสามารถ
ขุนคลัง ทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาในเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งจะเข้าในพระคลังและที่จะจ่ายราชการบังคับจัดการภาษีอากรขนอนตลาดทั้งปวงและบังคับศาลซึ่งชำระความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ของหลวงทั้งปวง
ขุนนาง มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงเก็บค่าเช่าจากราษฎร เป็นพนักงานจัดซื้อข้าวขึ้นฉางหลวง เป็นพนักงานทำนาตัวอย่าง ชักจูงราษฎรให้ลงมือทำนาด้วยตนเองเป็นผู้ทำนุบำรุงชาวนาทั้งปวงไม่ให้เสียเวลาทำนา นอกจากนั้นยังมีอำนาจที่จะตั้งศาลพิพากษาความที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องนาและโคกระบือ
อาณาเขต
กรุงศรีอยุธยา ที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงก่อตั้งในปี พ।ศ।1893 นั้นมีทำเลที่ตั้งที่ดีมาก ทั้งในด้านยุทธศาสตร์และในด้านการค้า กล่าวคือ ตัวเมืองอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่ลุ่มมีแม่น้ำล้อมรอบถึง 3 ด้าน ได้แก่ แม่น้ำลพบุรีทางด้านเหนือ แม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านตะวันตกและด้านใต้ ดังนั้เพียงแต่ขุดลำคูขื่อหน้าทางด้านตะวันออกเชื่อมแม่น้ำเหล่านั้น อยุธยาก็กลายเป็นเมืองเกาะที่มีลำน้ำรอบครบทั้ง 4 ด้าน ลักษณะเช่นนี้นับเป็นปราการธรรมชาติอันมั่นคงช่วยป้องกันการโจมตีของข้าศึกเป็นอย่างดี นอกจากนั้นการตั้งอยู่ในบริเวณที่ลุ่มทำให้ช่วงระยะระหว่าง เดือนกันยายน - ธันวาคมของทุกปี จะมีน้ำหลากท่วมรอบกรุงศรีอยุธยาเป็นบริเวณกว้าง เท่ากับเป็นการบังคับให้ฝ่ายข้าศึกมีโอกาสล้อมโจมตีกรุงศรีอยุธยาได้เพียงปีละ 8 เดือนเท่านั้นและเมื่อล้อมอยู่ถึงหน้าน้ำหลากแล้ว ก็จำต้องยกทัพกลับไปโดยปริยาย
ทำเลที่ตั้งเช่นนี้นอกจากจะให้ผลดีในด้านยุทธศาสตร์แล้วยังทำให้อยุธยา สามารถติดต่อค้าขายกับอาณาจักรที่อยู่ลึกเข้าไป เช่นสุโขทัยได้สะดวกโดยอาศัย แม่นำเจ้าพระยาและสาขา นอกจากนั้นการที่อยุธยาตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำที่ลึกเข้าไป ในผืนแผ่นดินแต่ก็ไม่ไกลจากปากน้ำจนเกินไป จึงทำให้อยุธยาสามารถติดต่อ ค้าขายทางเรือกับต่างประเทศได้อย่างสะดวก รวมทั้งสามารถทำหน้าที่เป็นพ่อค้า คนกลางติดต่อค้าขายระหว่างพ่อค้าจีน ญี่ปุ่น กับพวกพ่อค้าต่างชาติอื่นๆ อยุธยา จึงเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ
นอกจากทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมมาก ทั้งในด้านยุทธศาสตร์และด้านการค้า แล้วมีข้อน่าสังเกตว่าตั้งแต่แรกก่อตั้งอาณาจักร อยุธยามีพื้นฐานที่ดีทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และด้านกำลังทางทหารซึ่งพื้นฐานที่ดีทั้ง 3 ประการนี้มีส่วนอย่างมากในการช่วยเกื้อหนุน ให้อยุธยาสามารถพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองสร้างความเป็นปึกแผ่นได้อย่างรวดเร็ว จนก้าวเป็นศูนย์อำนาจทางการเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งทางตอนบนและตอนล่าง
สภาพเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
การค้ากับต่างประเทศ

ในสมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.1893-1991) การค้ากับต่างประเทศที่มีอยู่เป็นการค้าสำเภากับจีน ญี่ปุ่น อาหรับ มลายู อินเดียชวาและฟิลิปปินส์ แต่อยุธยามีการติดต่อค้าขายกับจีนมากที่สุด การค้าสำเภาส่วนใหญ่ในสมัยนี้เราดำเนินการโดยพระมหากษัตริย์เจ้านายและขุนนางมีการค้าของเอกชนบ้าง การค้ากับต่างประเทศในสมัยอยุธยาตอนต้นจึงเป็นการผูกขาดกลาย ๆ หรือโดยทางอ้อม แต่ระดับของการผูกขาดยังมีไม่มากรูปแบบการค้าเสรียังมีอยู่พ่อค้าต่างชาติยังสามารถติดต่อค้าขายกับราษฎรและพ่อค้าชาติอื่น ๆ ที่อยู่ในอยุธยาได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านองค์กรของรัฐบาลคือพระคลังสินค้า เหมือนดังเช่นในสมัยหลัง กล่าวโดยสรุปการค้ากับต่างประเทศ นับเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาและเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐ กล่าวคือหากรัฐบาลเป็นผู้ประกอบการค้าเองก็จะได้ผลกำไรแต่ถ้าไม่ได้ค้าขายเองก็จะได้ภาษีซึ่งเรียกเก็บจากสินค้าขาเข้าและสินค้าขาออก
รายได้ของรัฐ
สันนิฐานว่าในสมัยอยุธยาตอนต้น รัฐบาลคงมีรายได้ประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
จังกอบ คือ ค่าผ่านด่านขนอน ทางบกทางน้ำ เรียกเก็บจากสินค้าของราษฎรโดยเก็บชักส่วนสินค้าไว้ในอัตรา 1 ชัก 10หรือเก็บเป็นเงินตามอัตราขนาดยานพาหนะที่ขนสินค้าผ่านด่าน
อากร คือ การเก็บชักส่วนผลประโยชน์ที่ราษฎรได้จากการประกอบอาชีพอื่นๆ ที่มิใช่การค้าขายโดยตรง เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ ผู้ที่ทำนาจะเสียหางข้าวให้แก่รัฐและจะต้องนำมาส่งเอง หรือเงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการได้รับสิทธิต่าง ๆ เช่นอนุญาตให้เก็บของป่า จับปลาในน้ำ และต้มกลั่นสุรา เป็นต้น อัตราคงที่ประมาณ 1 ใน 10 ของผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้
ส่วย คือ เครื่องราชบรรณาการที่ได้จากประเทศราช
ฤชา คือ เงินค่าธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎรเฉพาะรายในกิจการที่ทางราชการจัดให้เช่นการออกโฉนดตราสารหรือเงินปรับไหมที่ฝ่ายแพ้คดีจะต้องชดใช้ให้แก่ฝ่ายชนะ รัฐบาลจะเก็บให้ครึ่งหนึ่งเป็นค่าฤชา ซึ่งเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "เงินพินัยหลวง"
รายได้จากการค้ากับต่างประเทศ ได้แก่ ผลกำไร ภาษีสินค้าขาเข้า และภาษีสินค้าขาออก


นางสาวฟาลิดา อาจหาญ ม.4/5 เลขที่ 18
ที่มา : http://www.dopa.go.th/history/ayud.htm

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น